ประวัติศาสตร์ไทยสมัยพัฒนาประเทศ

     ประวัติศาสตร์ไทยในช่วงนี้เริ่มตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถึงพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

                                  

                                   

            ภาพที่ ๗.๑ ตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ - รัชกาลที่ ๗ เป็นช่วงพัฒนาประเทศเข้าสู่ความเป็นอารยะ

      

สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๓๙๔-๒๔๑๑)

     เป็นช่วงเวลาที่ไทยต้องเผชิญกับการคุกคามของ “ลัทธิจักรวรรดินิยม” เข้ามาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาติตะวันตกได้ใช้ “นโยบายเรือปืน” บีบบังคับให้ประเทศต่าง ๆ ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของตนไทยได้ตัวอย่างที่ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่าและญวนต้องพ่ายแพ้แก่มหาอำนาจ คือ อังกฤษและฝรั่งเศส นอกจากนี้มหาอำนาจทั้งสองยังพยายามขยายอิทธิพล เข้ามาในดินแดนประเทศราชของไทยทางด้านแหลมมลายู เขมรและลาว  ดังนั้น ไทยจึงต้องดำเนินการพัฒนาประเทศควบคู่ไปกับการใช้นโยบายต่าง ๆ ทุกวิถีทางเพื่อรักษาชาติให้รอดพ้นจากลัทธิจักรวรรดินิยม

    

การเมืองการปกครอง

สภาพสาเหตุการณ์ที่สำคัญมีดังนี้

     ๑.  การทำสนธิสัญญาเบาว์ริง ในปี พ.ศ. ๒๓๙๘ อังกฤษส่งเซอร์ จอห์น เบาว์ริงเข้ามาเจรจาขอทำสนธิสัญญาพระราชไมตรีและการค้า ไทยต้องยินยอม สนธิสัญญาฉบับที่ทำให้ต้องสูญเสียสิทธีสภาพนอกอาณาเขตซึ่งก่อให้เกิดปัญหานานัปการ ต้องสูญเสียรายได้ต่างๆ จากการค้ากับต่างประเทศ เพราะเก็บภาษีได้เพียงร้อยละ ๓ สนธิสัญญาฉบับนี้ยังเป็นต้นแบบของการทำสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมที่ไทย ต้องยินยอมทำกับประเทศอื่น ๆ อีก ๑๓ ประเทศในเวลาต่อมา นอกจากนี้ไทยต้องยอมยกดินแดนเขมรส่วนนอกให้แก่ฝรั่งเศสอีกด้วย

                                                

                 ภาพที่ ๗.๒ เซอร์ จอห์น เบาว์ริง ภายหลังได้รับการแต่งตั้งเป็นพระยาสยามานุกูลกิจ

     ๒.   การปรับปรุงประเทศทางด้านการค้า มีการฟื้นฟูประเพณีถวายฎีกาต่อมาพระมหากษัตริย์ทรงออก รับฎีกาด้วยพระองค์เองสัปดาห์ละครั้ง เมื่อรับแล้วจะโปรดเกล้าฯ ให้ตุลาการชำระคดีโดยเร็ว

     ๓.  การให้เสรีภาพแก่ราษฎร เช่นประกาศให้ราษฎรมีอิสระในการนับถือศาสนา ยกสถานะของสตรีไทย โดยห้าม “ผัวขายเมีย บิดามารดาขายบุตร” โดยเฉพาะบุตรที่มีอายุเกิน ๑๕ ปี และเจ้าตัวไม่ยินยอม ห้ามบิดามารดาบังคับบุตรสาวแต่งงานโดยเจ้าตัวไม่ยินยอมอีกด้วย เป็นต้น

 

สภาพสังคม

     ๑.  การปรับปรุงขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ให้ทันสมัยตามแบบตะวันตก เช่น การให้ราษฎรเฝ้ารับเสด็จพระราชดำเนิน การให้ข้าราชการสวมเสื้อเวลาเข้าเฝ้า การพระราชทานเลี้ยงแก่ชาวต่างประเทศ เป็นต้น

     ๒.  การสร้างสาธารณูปโภคต่าง ๆ ได้แก่ การสร้างถนน เช่น ถนนเจริญกรุง ถนนบำรุงเมือง เป็นต้น การขุดคลองเชื่อมแม่น้ำและเมืองต่าง ๆ เช่น คลองภาษีเจริญและคลองดำเนินสะดวก นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาด้านโทรคมนาคม ด้วยการอนุญาตให้อังกฤษวางสายโทรเลขจากเมืองร่างกุ้งผ่านไทยไปสิงคโปร์ ทำให้ไทยได้รับประโยชน์ในการติดต่อสื่อสารรวดเร็วขึ้น

 

สภาพเศรษฐกิจ

     เป็นระยะที่ไทยเปิดประเทศติดต่อค้าขายกันชาติตะวันตก แต่เนื่องจากนโยบายการรักษาชาติเพื่อความอยู่รอดดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ทำให้ไม่ได้รับผลประโยชน์จากการค้าเดิมที่เท่าใดนัก

      

สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๕๓)

    ต้นสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ต้องเผชิญกับเหตุการณ์อันตรายทั้งภายในและภายนอก ประเทศปัญหาภายในคือ การที่สถาบันพระมหากษัตริย์ขาดเถียรภาพและความล้าสมัยของระบบบริหารราชการ ส่วนปัญหาภายนอก คือการคุกคามของลัทธิจักรวรรดินิยมจากอังกฤษและฝรั่งเศส พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าว รัชสมัยของพระองค์ถือได้ว่าเป็นยุคของการปฏิรูปประเทศทุกด้าน

                                                        

              ภาพที่ ๗.๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสวยราชสมบัติตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์

        

การเมืองการปกครอง

     เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ การกล่าวถึงการเมืองการปกครองจึงกล่าวเป็น  ๒ ระยะเวลา ดังนี้

    ๑.  การปกครองช่วง พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๓๐

     เป็นช่วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพยายามดึงอำนาจการบริหารกลับคืนจากกลุ่มขุนนาง

การดำเนินงานต่าง ๆ จึงเป็นไปในลักษณะของการวางพื้นฐานการปกครอง ดังนี้

     ก) การปกครองส่วนกลาง ทรงตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน มีหน้าที่ถวายคำปรึกษาราชการที่สำคัญและพิพากษาคดี นอกจากนี้ยังทรงตั้งสภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์ทำหน้าที่ถวายคำแนะนำ ขอปรึกษาส่วนพระองค์อีกด้วย

                                                        

 ภาพที่ ๗.๔ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) มีบทบาททางการเมืองตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓ จนถึงในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์ ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทำให้ขุนนางทั้งปวงพากันยกสมเด็จเจ้าพระยามหารศรีสุริยวงศ์ ขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินมีอำนาจสิทธีขาดทั้งปวง

     ข) การปกครองส่วนภูมิภาค ให้รวมหัวเมืองชายแดนบางท้องที่ขึ้นเป็นปริมณฑล เพื่อจัดระเบียบการปกครองให้มั่นคง ป้องกันการแทรกแซงจากชาติตะวันตก ได้แก่มณฑลลาวเฉียง ลาวพวน ลาวกาว ลาวกลาง เขมรและภูเก็ต และแต่งตั้งเจ้านายขุนนางที่มีความสมารถออกไปปกครอง

    ๒. การปกครองช่วง พ.ศ. ๒๔๓๐-๒๔๕๓

     ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่ทรงพระราชอำนาจโดยสมบูรณ์ การดำเนินงานต่างๆ จึงเป็นไปเพื่อปฏิรูปประเทศ ดังนี้

     ก) การปกครองส่วนกลางในพ.ศ. ๒๔๓๕ ทรงยกฐานะของกรมต่าง ๆ  ขึ้นเป็นกระทรวงรวม ๑๒ กระทรวง ได้แก่

-กลาโหม              -พระคลัง                  -โยธาธิการ

- มหาดไทย          -วัง                            -ธรรมการ

-นครบาล             -เกษตราธิการ            -มุรธาธิการ

-ต่างประเทศ        -ยุติธรรม                   -ยุทธนาธิการ

     แต่ภายในปรับเหลือ ๑๐ กระทรวง คือ ยุบยุทธนาธิการเป็นกรมขึ้นกับกลาโหมและรวบรวมมุรธิการเข้ากับวัง

     การปฏิรูปครั้งนี้จะแบ่งแยกการบริหารฝ่ายพลเรือน และทหารออกจากกันโดยเด็ดขาดยกเลิกตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี และจตุสดมภ์ทั้ง ๔

     ข) การปกครองส่วนภูมิภาค ให้หัวเมืองต่าง ๆ   ขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทยเพียงกระทรวงเดียว มี"ข้าหลวงเทศาภิบาล" เป็นผู้บังคับบัญชาในแต่ละมณฑล ยกเว้นมณฑลลาวพวนและลาวให้เรียกว่า  "ข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชกาลมณฑล" และในพ.ศ. ๒๔๔๑ ได้ตรา พระราชบัญญัติปกครองท้องถิ่น ที่ ร.ศ ๑๑๖ เป็นกฎหมายการปกครองหัวเมืองฉบับแรกขึ้น

     ค) การปกครองส่วนท้องถิ่น มีการแบ่งการบริหารออกเป็นปริมณฑล เมือง อำเภอ ตำบล และหมู่บ้านโดยทางการได้ให้สิทธิแก่ราษฎร ในการเลือกผู้ปกครองตนเองในระดับหมู่บ้านและตำบล

     ง) ด้านกฎหมายและศาล ไทยพยายามแก้ไขปัญหาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ซึ่งมีสาเหตุมาจากชาติตะวันตกไม่ยอมรับระเบียบการพิจารณาคดี และลงโทษแบบอย่างของไทยดั้งนั้นจึงได้ปฏิรูป กฎหมายและการศาลของไทยให้เป็นแบบสากล เริ่มจากการตั้งกระทรวงยุติธรรมควบคุมงานและการศาล ที่เคยกระจัดกระจายอยู่ตามกรมองค์ต่าง ๆ

     นอกจากนี้ยังจ้างนักกฎหมายต่างชาติเข้ามาดำเนินการจัดร่างกฎหมาย เป็นผลให้ในปี พ.ศ. ๒๔๕๑ ได้มีประมวลกฎหมายอาญาฉบับแรกขึ้นและในปี พ.ศ. ๒๔๗๘ ได้มีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ไทยจึงสามารถเรียกร้องเอกราชทางกฎหมายและการศาลกลับคืนมาได้สำเร็จ

 

ด้านสังคม

๑.   การจัดระเบียบทางสังคม ได้แบ่งกลุ่มคนทางสังคมออกเป็น ๒ กลุ่ม ได้แก่

     ก.   ผู้ปกครอง ประกอบด้วย กษัตริย์ ราชวงศ์ ข้าราชการ และพระสงฆ์

     ข.   ผู้ถูกปกครอง ประกอบด้วย ไพร่และทาส

๒.  การส่งเสริมด้านการศึกษา มีการตั้งโรงเรียน วัดหรรณพาราม ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๗ ซึ่งเป็นโรงเรียนสำหรับราษฎรแห่งแรก หลังจากนั้นก็ได้มีการตั้งโรงเรียนและโรงเรียนฝึกหัดคนเข้ารับราชการ รวมถึงได้มีการจัดทุนเล่าเรียนหลวงให้แก่ราษฏรแห่งแรก ที่มีความรู้สึกไปต่อยังต่างประเทศด้วย

๓.  การสร้างสาธารณูปโภคต่าง ๆ เพื่อสร้างประเทศให้เจริญทัดเทียมอารยประเทศ เช่นการขุดคลองเชื่อมการติดต่อระหว่างประชาชน การสร้างทางรถใหม่ การใช้รถราง การตั้งกรมไปรษณีย์ โทรเลข การไฟฟ้า การสาธารณสุข เป็นต้น

 

ด้านเศรษฐกิจ

๑.  นโยบายด้านการเงิน ได้มีการปรับปรุงระบบเงินตราและผลิตเหรียญกษาปณ์ให้เป็นมาตรฐานสากล ราคาของเหรียญเปลี่ยนเป็นระบบสตางค์ตามมาตราทศนิยม นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานทองคำ เนื่องจากแร่มีราคาตกต่ำ รวมถึงการตั้งเงินทุนสำรองเพื่อรักษาอัตราแลกเปลี่ยน เงินบาทของไทยให้สอดคล้องกับสากล และมีการตั้งธนาคารขึ้นด้วย

๒.  นโยบายการคลัง ได้มีการจัดระเบียบวางมาตรฐานด้านการคลังให้เป็นระบบ เช่น

     ก) การตั้งหอรัษฏากรพิพัฒน์

     ข) จัดทำงบประมาณแผ่นดิน

     ค) ตั้งหน่วยงานทำหน้าที่จัดเก็บภาษีอากร

เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

     ๑.  เกิดปฏิกิริยาต่อต้านการปกครองจากกลุ่มผู้เสียอำนาจเป็นผลทำให้ในปี พ.ศ.๒๔๑๗ เกิดวิกฤตการณ์วังหน้า ในปีพ.ศ. ๒๔๔๕ เกิดกบฏเงี้ยว (เมืองแพร่) กบฏผีบุญ (อีสาน) และกบฏเมืองปักษ์ใต้ขึ้น แต่รัฐบาลก็สามารถยุติได้

     ๒.  เกิดเหตุการณ์ ร.ศ ๑๐๓ (พ.ศ.) ๒๔๒๗ ขึ้นโดยกลุ่มราชวงศ์และขุนนางที่อยู่ในยุโรปได้ร่วมกันถวายสาสน์ ความเห็นให้มีการปรับปรุงการปกครองแผ่นดิน เพราะเห็นว่านโยบายเดิมไม่สามารถป้องกันอันตรายจากลัทธิจักรวรรดินิยมได้ ข้อเสนอนับว่ารุนแรงเพราะเป็นการเปลี่ยนแนวทางการปกครอง จากคติที่ว่าบ้านเมืองเป็นของกษัตริย์ให้มาเป็นของประชาชน ซึ่งตอนปลายรัชกาลก็ได้ทรงมีพระราชปรารภว่า จะให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชพิจารณาแก้ไขในระยะต่อไป

     ๓.  เกิดเหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖) เป็นเหตุการณ์ที่ฝรั่งเศสยึดเมืองจันทบุรี และตราดของไทย เพื่อขอแลกเปลี่ยนมณฑลบรูพาซึ่งไทยจำต้องยินยอม

      

สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๖๘)

     ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมุงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว การขึ้นครองราชสมบัติแตกต่างจากสมัยพระราชบิดาโดยสิ้นเชิง เพราะทรงขึ้นครองราชสมบัติในเวลาที่มิได้มีปัญหาในเรื่องการสืบราชสมบัติ เนื่องจากพระราชบิดาได้ทรงสถาปนาตำแหน่ง “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร” ให้สืบต่อ ระบบการบริหารการปกครองก็ได้รับการฟื้นฟูพื้นฐานเป็นอย่างดี ภาระที่ทรงต้องทำ คือ การสานต่อนโยบายปฏิรูปประเทศที่พระราชบิดาได้ทรงเริ่มไว้ หากแต่ยังไม่ลุล่วงสมบูรณ์โดยเฉพาะปัญหาด้านเศรษฐกิจ เริ่มมีการกล่าวขวัญมากในปลายรัชกาล แต่เนื่องจากพระบรมราโชบายและพระจริยวัตรบางประการ เช่น ทรงโปรดโขน ละคร ในขณะ ที่บ้านเมืองกำลังประสบภาวะเศรษฐกิจทำให้เป็นที่พึงพอใจ ของข้าราชการและประชาชนบางกลุ่ม

 

การเมืองการปกครอง

     ในรัชกาลนี้ได้มีบรรยากาศแสดงออกในเรื่องระบอบประชาธิปไตยหลายด้าน ดังเช่น

     ๑.  เกิดกบฏ ร.ศ. ๑๓๐ (พ.ศ. ๒๔๕๔) ขึ้นโดยข้าราชการหนุ่มทั้งพลเรือนและทหาร ซึ่งมีแนวคิดจะเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบรัฐสภา โดยมีพระกษัตริย์อยู่ภายใต้กฎหมาย หรือมิฉะนั้นก็เปลี่ยนเป็นสาธารณะรัฐมีประธานาธิบดีเป็นประมุข แต่เหตุการณ์นี้ได้ถูกปราบลงตั้งแต่ยังไม่เริ่มดำเนินการ แม้จะไม่ประสบผลแต่ก็เป็นแรงบันดาลใจให้ผู้ก่อการชุดหลังใน พ.ศ. ๒๔๗๕ ทำการเปลี่ยนแปลงอย่างรอบคอบขึ้น

                                              

                                             ภาพที่ ๗.๕ ส่วนหนึ่งของคณะผู้ก่อการกบฏ ร.ศ. ๑๓๐

     ๒. การตั้ง “ดุสิตธานี” (พ.ศ. ๒๔๖๑) เป็นเมืองต้นแบบเพื่อจำลองระบอบประชาธิปไตย มีการเลือกตั้งรัฐบาล มีรัฐธรรมนูญ ตลอดจนการมีพรรคการเมือง แม้นโยบายนี้จะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่ก็แสดงให้เห็นถึงกระแสของระบอบประชาธิปไตยขึ้น

 

สภาพสังคม

     ๑.  มีบรรยากาศของประชาธิปไตยทีได้เห็นชัดเจน เช่น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดฯ ให้ประชาชนมีการแสดงความคิดเห็นทางหน้าหนังสือพิมพ์ได้ โดยทรงใช้นามแฝง เช่น ศรีอยุธยา รวมจิตดี อัศวพาหุ พระขรรค์เพ็ชร์ เป็นต้น แสดงทรรศนะทางการเมืองและสมาคมตอบโต้ด้วย

     ๒.  มาการปลูกฝังความรู้สึกชาตินิยมให้แก่ประชาชน ด้วยผลงานพระราชนิพนธ์ต่าง ๆ รวมถึง การใช้โขน ละครเป็นการสื่อทางหนึ่ง

     ๓.  มีการจัดตั้งกองเสือในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ พื่อฝึกพลเรือนให้มีระเบียบวินัยแบบทหารและความสมัครสมานสามัคคีในหมู่ราษฎร กิจกรรมเสือป่าแม้จะมีวัตถุประสงค์ที่ดี แต่กลับทำให้เกิดความแตกแยกในหมู่ทหารเห็นว่ากองเสือป่า จัดตั้งเพื่ออำนาจและบทบาท และกลายเป็นสาเหตุหนึ่งของการก่อกบฏ ร.ศ. ๑๓๐ ในเวลาต่อมา

     ๔.  การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ ๑ ซึ่งเกิดขึ้นระหว่าง พ.ศ. ๒๔๕๗-๒๔๖๐ ผลจากการเข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตรทำให้ไทย ได้มีโอกาสเข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การสันนิบาตชาติ และมีโอกาสเรียกร้องให้นานาชาติแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เสมอภาค โดยสหรัฐอเมริกาเป็นชาติแรกที่ยอมลงนามยกเลิกสนธิสัญญา ที่ไม่เสมอภาคกับไทยใน พ.ศ. ๒๔๖๓ และเป็นแบบอย่างให้ประเทศอื่น ๆ  ยินยอมยกเลิกสัญญาที่ไม่เสมอภาคในเวลาต่อมา

 

สภาพเศรษฐกิจ

     เนื่องจากภาวะสงครามทำให้สภาพบ้านเมือง ในขณะนั้นต้องประสบกับภาวะเศรษฐกิจตำต่ำ และส่งผลกระทบถึงรัชกาลต่อไป

    

สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๖๘-๒๔๗๗)

 

การเมืองการปกครอง

     รัชสมัยนี้เป็นช่วงรอยต่อจากระบอบสมบรูณาญาสิทธิราชย์ ที่สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยอยุธยานานเกือบ ๖๐๐ ปี เข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย

 

สภาพสังคม

     เป็นสมัยที่ข้าราชการรุ่นใหม่ ทั้งทหารบก ทหารเรือ และพลเรือนทีได้รับการศึกษาจากต่างประเทศ ต้องการโอกาสใช้ความรู้ความสามารถในการบริหารบ้านเมือง แต่มักติดขัดที่โอกาสในการเลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่ง และบรรดาศักดิ์จะตกเป็นของบรรดาเชื้อพระวงศ์ ทำให้ข้าราชการกลุ่มใหม่เกิดความรู้สึกขัดแย้งและต่อต้าน จนนำไปสู่ความต้องการเปลี่ยนแปลงอำนาจในการบริหารประเทศ

 

สภาพเศรษฐกิจ

     ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเทศชาติไทยประสบกับภาวะเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากผลของสงครามโลกครั้งที่ ๑  นอกจากนี้ยังประสบปัญหาการคลังซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรัง มาจากรัชกาลก่อน ทำให้ทรงต้องดำเนินนโยบาย “ประหยัดและตัดทอน”  ” เช่น การดุลข้าราชการออกจากตำแหน่ง การยุบหน่วยราชการ การตัดเงินเดือนข้าราชการ การจัดเก็บภาษีเงินเดือน ล้วนสร้างความไม่พอใจในหมู่บ้านข้าราชการและราษฎรทั่วไปจนเป็นเหตุให้คณะทหารบก ทหารเรือ และพลเรือน ซึ่งเรียกตนเองว่า “คณะราษฎร” ทำการปฏิวัติในวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕

 

ความเจริญทางวัฒนธรรม

     ๑.  ด้านสถาปัตยกรรม

           ได้รับอิทธิพลจากตะวันตก ทำให้ลักษณะสถาปัตยกรรมในยุคนี้เป็นแบบยุโรป เช่น พระที่นั่งภูวดลทัศไนย พระที่นั่งอนันตสมาคม  พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระที่นั่งอุดมวนาภรณ์ ศาลารัฐบาลมณณฑลดุสิต เป็นต้น

     ๒.  จิตรกรรม

            อิทธิพลจากตะวันตก ทำให้เทคนิคการเขียนภาพนิยมใช้สีมืดครึ้ม ซึ่งตรงกันข้ามกับจิตรกรรมของไทย จิตรกรรมที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ คือ “ขรัวอินโข่ง” วัดราชบรูณะ

     ๓.  ด้านวรรณกรรม

            ในสมัยรัชกาลที่ ๔  วรรณกรรมที่สำคัญได้แก่ “นิราศลอนดอน” ซึ่งประพันธ์โดย หม่อม ราโชทัย ผู้ทำหน้าที่ล่ามในคณะราชทูตไทยไปอังกฤษ เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๐๐

           พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีบทพระราชนิพนธ์ร้อยกรองอยู่หลายเเรื่อง เช่น บทละครเรื่องรามเกียรติ์บบางตอน รวมทั้งพระราชนิพนธ์ประกาศและพระบรมราชาธิบายต่าง ๆ  ซึ่งนักศึกษาวรรณคดีชื่นชอบกันมากเนื่อง เนื่องจากสำนวนโวหารที่ถูกต้องเป็นแบบต้นฉบับได้อย่างดี

           ในสมัยรัชกาลที่ ๕ วรรณกรรมที่สำคัญ เช่น บทพระราชนิพนธ์ “ไกลบ้าน” ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อคราวเสด็จประพาสยุโรป นอกจากนี้ยังมีบทพระราชนิพนธ์ร้อยแก้ว เรื่อง “พระราชพิธีสิบสองเดือน” เป็นต้น

           ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ทรงได้รับการยกย่องว่าเป็น “พระมหาธีรราชเจ้า” หรือพระราชาผู้เป็นนักปราชญ์ พระราชนิพนธ์ ของพระองค์มีหลายประเภทรวมแล้วมีมากกว่า ๑,๒๐๐ เรื่อง ทั้งโคลง ฉันท์ บทความทางการเมือง บทละครพูด นิทาน นวนิยาย สาระสำคัญทรงมีพระราชประสงค์ที่ปลุกใจคนไทย ห้เกิดความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ วรรณคดีสโมสรที่ทรงพระราชทานกำเนิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๕ ได้ประชุมยกย่องพระราชนิพนธ์อยู่ ๓ เรื่อง คือ “หัวใจนักรบ” เป็นยอดของบทละครพูด “มัทธนะพาธา” เป็นยอดของบทละครพูดคำฉันท์ และ “พระนลคำหลวง” เป็นยอดของกวีนิพนธ์

       

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

จำนวนผู้เข้าชม ครั้ง