รัฐล้านนา

     พญามังราย กษัตริย์แห่งหิรัญนครเงินยาง องค์ที่ ๒๕ ในราชวงศ์ลวจังกราชปู่เจ้าลาวจก ได้เริ่มตีเมืองเล็กเมืองน้อย ตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำกก แม่น้ำอิง และ แม่น้ำปิงตอนบน รวบรวมเมืองต่างๆให้เป็นปึกแผ่น นอกจากเงินยางแล้ว ยังมีเมืองพะเยาของพญางำเมืองพระสหาย ซึ่งพญามังรายไม่ประสงค์จะได้เมืองพะเยาด้วยการสงคราม แต่ทรงใช้วิธีผูกสัมพันธไมตรีแทน หลังจากขยายอำนาจระยะหนึ่ง พระองค์ทรงย้ายศูนย์กลางการปกครอง โดยสร้างเมือง เชียงราย ขึ้นแทนเมือง เงินยาง เนื่องด้วยเชียงรายตั้งอยู่ริมแม่น้ำกก เหมาะเป็น ชัยสมรภูมิ ตลอดจนทำการเกษตรและการค้าขาย

    หลังจากพญามังรายรวบรวมอาณาจักรหริภุญชัยเข้ากับโยนกเชียงแสนเสร็จสิ้นแล้ว ได้ขนามนามราชอาณาจักรแห่งใหม่นี้ว่า "อาณาจักรล้านนา"  พระองค์มีดำริจะสร้างราชธานีแห่งใหม่  นี้ ให้ใหญ่โตเพื่อให้สมกับเป็นศูนย์กลางการปกครองแห่งอาณาจักรล้านนาทั้งหมด พร้อมกันนั้นก็ ได้อัญเชิญพระสหายสนิทร่วมน้ำสาบานสองพระองค์ได้แก่ พญางำเมือง แห่งเมืองพะเยา และ พ่อขุนรามคำแหง แห่งสุโขทัย มาร่วมกันสถาปนาราชธานีแห่งใหม่ในสมรภูมิบริเวณที่ลุ่มริมฝั่งมหานทีแม่ระมิงค์ โดยตั้งชื่อราชธานีแห่งใหม่นี้ว่า "เมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่"

                                                                          ภาพที่  ๒.๑ พระบรมราชานุสาวรีย์ พ่อขุนงำเมือง พ่อขุนมังราย และพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

ความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมล้านนา

     นับตั้งแต่รัชสมัยพ่อขุนมังรายเป็นต้นมาล้านนาเป็นรัฐที่อุดมสมบรูณ์และมั่นคงมาเป็น เวลานานประมาณ ๓๐๐ ปีก่อนที่จะตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า ตลอดเวลาที่ยาวนานนี้ได้ สร้างสรรค์ความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมเอาไว้มากในทุก ๆ ด้าน ดังนี้

๑. ด้านพระพุทธศาสนา

๒. ด้านการปกครอง

๓. ด้านศิลปกรรม

      

รัฐสุโขทัย

     เรื่องราวของชนชาติไทยปรากฏมีหลักฐานชัดเขนขึ้นมาในสมัยสุโขทัย ตั้งแต่พ่อขุนรามคำแหง ประดิษฐ์อักษรไทยและขารึกเรื่องราวต่าง ๆ ลงในหลักศิลาจารึก ที่ให้ความกระจ่างเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สุโขทัย คือ จารึกหลักที่ ๑ ที่เรียกว่า จารึกของพ่อขุนรามคำแหง และจารึกหลักที่ ๒ หรือจ่รึกวัดศรีชุม นอกจากจารึกทั้ง ๒ หลักแล้ว หลักฐานทางโบราณสถาน โบราณวัตถุ และตำนานต่าง ๆ ก็ยังแสดงให้เห็นว่าบริเวณภาคเหนือตอนล่างก่อนปี พ.ศ. ๑๘๐๐ ได้เกิดเมืองเล็ก ๆ ขึ้นมาหลายเมืองกระจาย อยู่ในทุกจังหวัดในเขตภาคเหนืองตอนล่าง โดยเฉพาะที่เมืองสุโขทัย ก่อนสมัยราชวงศ์พระร่วง

ความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมสุโขทัย

     รัฐสุโขทัยแม้จะมีอายุไม่ยืนยาวเหมือนล้านนา หรือรัฐอยุธยา แต่ในด้านวัฒนธรรมก็ได้รับการยย่องว่าเป็นยุคทองของวัฒนธรรมไทย นอกจากนี้ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ประกาศเมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศซ. ๒๕๔๓ ให้สุโขทัยศรีสัชนาลัยกำแพงเพชร เป็นมรดกโลกด้วย ตัวอย่างวัฒนธรรมไทย ได้แก่

     ๑. ด้านพระพุทธศาสนา ก่อนสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช จากหลักฐานทางโบราณคดี เช่น วัดพระพายหลวง รูปปั้นเทวรูปพระแม่ย่าที่สุโขทัย เป็นต้น แสดงให้เห็นถึงสุโขทัยนับถือทั้ง พระพุทธศาสนาเถรวาท ศาสนาพราหมณ์ และการนับถือผี ว่าเป็นวัฒนธรรมไทยแต่ดั้งเดิม

     ๒. ด้านการปกครอง ตามหลักฐานที่ปรากฏในศิลาจารึก และในคัมภีร์เตภูมิกถา แสดงให้เห็นว่า สมัยสุโขทัยมีการปกครองแบบพ่อปกครองลูก พ่อขุนซึ่งเป็นกษัตริย์ มีความใกล้ชิดกับไพร่ฟ้าประชาชน ไม่ใช่ปกครองแบบเจ้านายกับข้าทาสแบบสมัยอยุธยา

     ๓. ด้านภาษาและวรรณกรรม วัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่ของสมัยสุโขทัย คือ การประดิษฐ์อักษรไทยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นผลให้องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก้ (UNESCO) ประกาศให้ศิลาจารึกหลักที่ ๑ ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นมรดกความทรงจำของโลก

     ๔. ด้านศิลปกรรม แต่เดิมศิลปกรรมของสุโขทัยมีทั้งเทวรูปและพระพุทธรูป โบราณสถาน แบบพราหมณ์ที่สำคัญคือ วัดพระพายหลวง ส่วนทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ เจดีย์ทรงบัวตูม ต่อมาเมื่อรับนับถือพระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ การสร้างเจดีย์ทรงลังกาหรือฃบางครั้ง เรียกว่า ทรงระฆังก็เข้ามาแพร่หลาย เช่น การสร้างวัดช้างล้อมแบบลังกาได้เกิดขึ้น เป็นต้น

        

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

จำนวนผู้เข้าชม ครั้ง