ความหมายและความสำคัญของรัฐธรรมนูญ
ความหมายของรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายสูงสุดในการจัดการปกครองรัฐ ถ้าแปลตามความหมายของคำ จะหมายถึง การปกครองรัฐอย่างถูกต้องเป็นธรรม (รัฐ + ธรรม + มนูญ)
ในความหมายอย่างแคบ "รัฐธรรมนูญ" ต้องมีลักษณะเป็นลายลักษณ์อักษร และไม่ใช่สิ่งเดียวกับ กฎหมายรัฐธรรมนูญ เพราะ "กฎหมายรัฐธรรมนูญ" มีความหมายกว้างกว่าและจะเป็นรูปแบบลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณีก็ได้
รัฐธรรมนูญในปัจจุบันนั้น มีทั้งเป็นลักษณะลายลักษณ์อักษร และลักษณะไม่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยที่ลักษณะไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นอกจากจะใช้หลักของจารีต ประเพณีการปกครองแล้ว กฎหมายทุกตัวที่เกี่ยวข้องกับการปกครอง ย่อมถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญด้วย
ทุกประเทศทั่วโลกมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ทั้งประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย รวมถึงประเทศที่ปกครองระบอบเผด็จการ เพื่อใช้เป็นหลักหรือเป็นแนวทางในการบริหารประเทศ
ความสำคัญของรัฐธรรมนูญ
๑. รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่กำหนดรูปแบบของรัฐ ว่าประเทศนั้นมีการรวมดินแดนแว่นแคว้นต่าง ๆ เป็นเอกรัฐ หรือรัฐเดี่ยว เช่น ประเทศไทย หรือเป็นรัฐแบบผสม เช่น สหรัฐอเมริกา
๒. รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่กำหนดที่มาของอำนาจอธิปไตย และโครงสร้างการใช้อำนาจอธิปไตย
๓. รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด เป็นกฎหมายแม่บทของกฎหมายอื่น อาทิ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ และพระราชกำหนด ซึ่งทั้ง ๓ ชนิด ล้วนเป็นกฎหมายที่มีศักดิ์รองลงมาจากรัฐธรรมนูญ

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับแรกได้ถูกบัญญัติไว้ตั้งแต่ในสมัยกรุงสุโขทัย โดยปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง แสดงการบัญญัติวิธีการปกครอง การกำหนดอาณาเขต และอำนาจของผู้ปกครอง รวมทั้งการให้สิทธิเสรีภาพของประชาชนในการดำเนินชีวิตไว้อย่างชัดเจน ความคิดริเริ่มที่จะให้ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญหรือคอนสติติ่วชั่น หรือร่างราชประเพณีใหม่ ใช้ในการปกครองประเทศได้ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๕ และพัฒนามาเป็นลำดับดังต่อไปนี้
๑. สมัยรัชกาลที่ ๕ มีการร่างรัฐธรรมนูญ(ร่างราชประเพณีใหม่) โดยสมเด็จกรมพระยา เทววงศ์วโรปการ เป็นผู้ร่าง แต่ไม่ได้ประกาศใช้
๒. สมัยรัชกาลที่ ๖ มีการประกาศรัฐธรรมนูญลักษณะการปกครองคณะนคราภิบาล พุทธศักราช ๒๔๖๑ ใช้เป็นแนวทางการปกครองในดุสิตธานี ซึ่งเป็นเมืองจำลองรูปแบบการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย
๓. สมัยรัชกาลที่ ๗ มีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้น ๒ ฉบับเพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารประเทศแต่ไม่ได้ประการใช้ ดังนี้
๓.๑. ร่างรัฐธรรมนูญฉบับพระยากัลยาณไมตรี (เจ. ไอ. เวสเตนการ์ด) พ.ศ. ๒๔๙๖
๓.๒. ร่างรัฐธรรมนูญฉบับของนายเรมอนด์ บี. สตีเวนส์ และพระยาศรีวาจา (นายเทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล) พ.ศ. ๒๔๗๔ โดยร่างเป็นภาษาอังกฤษใช้ชื่อว่า “An Outline of Changes in the Form Government)

ความเป็นมาและสาระสำคัญของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
สืบเนื่องมาจากแถลงการณ์ของ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน รัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบกและคณะได้ทำการรัฐประหารเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๙๘ ยึดอำนาจการปกครองประเทศจากรัฐบาล ซึ่งมีพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตรเป็นนายกรัฐมนตรี สำเร็จด้วยเหตุผลจากการทำรัฐประหารสรุปว่าการบริหารราชการแผ่นดิน โดยรัฐบาลปัจจุบันก่อให้เกิดปัญหาการขัดแย้ง แบ่งฝ่ายสลายความสามัคคีของชนในชาติอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ไทย การบริหารราชการแผ่นดินส่อไปในทางทุจริตประพฤติมิชอบอย่างกว้างขวาง หน่วยงานองค์กรอิสระถูกครอบงำทางการเมือง ไม่สามารถตอบสนองเจตนารมณ์ตามที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมีการกระทำหมิ่นเหม่ต่อการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แห่งองค์พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่เคารพเทิดทูนของประชาชน แม้หลายภาคส่วนของสังคมพยายามประนีประนอม คลี่คลายสถานการณ์มาโดยต่อเนื่องแล้ว แต่ก็ไม่สามารถทำให้สถานการณ์ความขัดแย้งยุติลงได้ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขจึงมีความจำเป็นต้องยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน และมีประกาศให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันสิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙
สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๐๐
คณะปฏิรูปการปกคอรงในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมทั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญจำนวน ๑๐๐ คน มีความเห็นว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๔๐ ที่ถูกยกเลิกไปเป็นฉบับที่ที่เอื้ออำนวยต่อรัฐบาลชุดเดิม ก่อให้เกิดการผูกขาดอำนาจรัฐ และใช้อำนาจรัฐ และใช้อำนาจรัฐอย่างไม่เป็นธรรม มีการดำเนินงานทางการเมืองที่ขาดความโปร่งใส่ไม่มีคุณธรรมและจริยธรรม คณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ และสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับพุทธศักราช ๒๕๕๐ จึงเน้นสาระสำคัญและมุ่งแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้น ด้วยการดำเนินการจัดร่างครอบคลุม ๔ แนวทาง ดังนี้
๑. การคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของประชาชนให้มากยิ่งขึ้น
๒. ลดการผูกขาดอำนาจรัฐ และขจัดการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม
๓. ทำให้การเมืองมีความโปร่งใส มีคุณธรรมและจริยธรรม
๔. ทำให้การตรวจสอบอำนาจรัฐมีความเข้มแข็งและทำงานได้อย่างมีประสิทธิเสรีภาพ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ เริ่มประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๔๗ ก. วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๐ ๒๕๕๐ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๐ เป็นต้นไป มีสาระสำคัญบัญญัติไว้ ประกอบด้วย ๑๕ หมวด จำนวน ๓๐๙ มาตราสรุปได้ดังนี้
หมวด ๑ : บททั่วไป
หมวด ๒ : พระมหากษัตริย์
หมวด ๓ : สิทธิเสรีภาพของชนชาวไทย
หมวด ๔ : หน้าที่ของชนชาวไทย
หมวด ๕ : แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
หมวด ๖ : รัฐสภา
หมวด ๗ : การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน
หมวด ๘ : การเงิน การคลัง และงบประมาณ
หมวด ๙ : คณะรัฐมนตรี
หมวด ๑๐ : ศาล
หมวด ๑๑ : องค์กรตามรัฐธรรมนูญ
หมวด ๑๒ : การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
หมวด ๑๓ : จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
หมวด ๑๔ : การปกครองส่วนท้องถิ่น
หมวด ๑๕ : การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
ปัจจุบัน พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๕๕๐ จำนวน ๓ ฉบับ ดังกล่าวข้างต้นได้ประกาศใช้บังคับเป็นครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ แล้ว เมื่อวันที่ ๘ ตุกลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
 |