ความหมายและความจำเป็นของการมีกฎหมาย
กฎหมาย กฎหมาย คือการกระทําของรัฐเป็น action หรือเป็นคําสั่งหรือระเบียบข้อบังคับ ของผู้ มีอํานาจในรัฐหรือประเทศนั้นได้ออกหรือกําหนดมา เพื่อใช้บังคับความประพฤติของบุคคลหรือ ประชาชนในรัฐหรือประเทศนั้นให้ปฏิบัติตาม หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามแล้วผู้นั้นจะต้องได้รับผล อย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ กฎหมายกําหนดไว้ ซึ่งเราสามารถแบ่งลักษณะกฎหมายได้ ๒ ลักษณะ คือ
๑. กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร (Civil Law) เป็นบทบัญญัติหรือข้อบังคับที่เกิดขึ้นโดยผู้มี านาจในประเทศนั้น ๆ เช่น ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ผู้มีอํานาจออกกฎหมายคือ รัฐสภาและสามารถบังคับที่ใช้บังคับได้ทั่วไป คือใช้บังคับกับทุกคนในประเทศ หากมีการฝ่าฝืน ผู้นั้น จะต้องได้รับผลร้ายหรือถูกลงโทษ
๒. กฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร (Common Law) หรือจารีตประเพณีซึ่งก็คือเหตุผลตาม ธรรมชาติ / สามัญสํานึก / สิ่งที่ปรากฏให้เห็นเป็นรูปร่างได้ตามความนิยม หรือลักษณะนิสัยใจคอของผู้ ยึดถือปฏิบัติ เช่น ประเพณีการแต่งกาย ประเพณีการสาดน้ำวันสงกรานต์ เป็นต้น จารีตประเพณีมีความคล้ายคลึงกับกฎหมาย คือ ต่างก็มีข้อกําหนดบังคับความประพฤติของมนุษย์ว่า ควรทําอย่างนั้น ไม่ควรทําอย่างนี้ เพื่อให้สังคมนั้นอยู่กันโดยสันติสุข

กฎหมายที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน
ในบทนี้ จะกล่าวถึงกฎหมายที่เป็นในชีวิตประจําวัน ได้แก่
๑. กฎหมายทะเบียนราษฎร
๒. กฎหมายว่าด้วยชื่อบุคคล
๓. กฎหมายว่าด้วยบัตรประจําตัวประชาชน
๔. กฎหมายเกี่ยวกับการรับราชการทหาร
๕. กฎหมายเลือกตั้ง
๖. กฎหมายอาญา
๗. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
๑. กฎหมายทะเบียนราษฎร
๑.๑ คนเกิด
เมื่อมีคนเกิดในบ้าน ให้เจ้าบ้าน หรือบิดามารดา หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้แจ้งต่อนาย ทะเบียน ผู้รับแจ้งแห่ง ท้องที่ที่เกิดภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันเกิด
- ให้แจ้งชื่อตัวของเด็กเกิดใหม่ พร้อมกับการแจ้งเกิด และแจ้งชื่อสกุลด้วย พร้อมสําเนา ทะเบียนบ้านที่ จะเพิ่มชื่อเด็ก
- แจ้งวัน เดือน ปีและสถานที่ เกิดถ้ามีหนังสือรับรองการเกิดจากสถานพยาบาลให้นํามา แสดงด้วย เรียบเรียงโดย ครูเวชพล อ่อนละมัย
- แจ้งชื่อตัว - ชื่อสกุลบิดา มารดาของเด็ก
- แจ้งชื่อตัว ชื่อสกุลและที่อยู่ของผู้แจ้งการเกิดตามหลักฐานสําเนาทะเบียนบ้าน พร้อมบัตร ประจําตัวประชาชนที่นํามาแสดง (กรณีผู้แจ้งไม่ใช่บิดา - มารดา) กรณีเมื่อมีคนเกิดนอกบ้าน ให้บิดา หรือมารดา หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้แจ้งต่อนายทะเบียน ผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ ที่เกิด หรือแห่งท้องที่ที่พึงได้ใน ๑๕ วัน นับแต่วันเกิด หรือในกรณีจําเป็นไม่ อาจแจ้งได้ตามกําหนดให้แจ้งภายหลังได้แต่ต้องไม่เกิน ๓๐ วัน
๑.๒ คนตาย
เมื่อมีคนตายในบ้าน ให้เจ้าบ้านเป็นผู้แจ้งต่อนายทะเบียน ผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนตายภายใน ๒๔ ชั่วโมง นับตั้งแต่เวลาตายในกรณีไม่มีเจ้าบ้านให้ผู้พบศพ จะต้องแจ้งภายใน ๒๔ ชั่วโมง นับแต่เวลา พบศพ เมื่อมีคนตายนอกบ้านให้ผู้ที่ไปกับผู้ตาย หรือผู้พบศพ เป็นผู้แจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่ง ท้องที่ที่ตาย หรือพบ ศพ หรือแห่งท้องที่ที่พึงแจ้งได้ภายใน ๒๔ ชั่วโมง นับแต่เวลาตาย หรือพบศพ ในกรณีนี้จะแจ้งต่อ พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตํารวจก็ได้
๒. กฎหมายว่าด้วยชื่อบุคคล
ตาม พรบ.ชื่อบุคคล ปี ๒๕๐๕ ได้กําหนดว่า “ผู้มีสัญชาติไทยต้องมีชื่อตัวและชื่อสกุลและ อาจจะมีชื่อรองก็ได้” หลักเกณฑ์ในการตั้งชื่อตัว ชื่อรอง รอง และชื่อ สกุลนั้น ต้องเป็นไปตามที่ กฎหมายกําหนดตาม พรบ.ชื่อบุคคล ปี ๒๕๐๕ ซึ่งมีดังนี้คือ
๑. ชื่อตัว ชื่อรองต้องไม่พองหรือมุ่งหมายให้คล้ายพระปรมาภิไธยพระนามของพระราชินี หรือราชทินนาม และต้องไม่มีคําความหมายหยาบคาย
๒. ผู้ที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ หรือผู้ที่เคยได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์นั้นโดย มิได้ถูกถอดจะใช้ราชทินนาม บรรดาศักดิ์นั้นเป็นชื่อตัว หรือชื่อรองก็ได้
๓. ชื่อสกุลตอง
๓.๑ ไม่พองหรือมุ่งหมายให้คล้ายพระปรมาภิไธยพระนามของพระราชินี
๓.๒ ไม่พองหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับราชทินนาม เว้นแต่ราชทินนามของตน ของ บุพการีหรือของผู้สืบสันดาน
๓.๓ ไม่ซ้ำากับชื่อสกุลที่ไดรับพระราชทานจากพระมหากษัตริย์หรือชื่อสกุลที่ได้จด ทะเบียนไว้แล้ว
๓.๔ ไม่มีคําความหมายหยาบคาย
๓.๕ ไม่มีพยัญชนะเกินกว่า สิบพยัญชนะเว้นแต่กรณีใช้ราชทินนาม เป็นชื่อสกุล
๓. กฎหมายว่าด้วยบัตรประจําตัวประชาชน
ตามกฎหมายไทยได้กําหนดไว้ผู้ที่มีสัญชาติไทย ซึ่งมีอายุตั้งแต่ ๑๗ ปีบริบูรณขึ้นไป แต่ไม่ เกิน ๑๗ ปีบริบูรณ์ตองมีบัตรประชาชนเพื่อที่ จะทําให้สามารถทราบได้ว่าบุคคลผู้นั้นเป็นใครอายุ เท่าใดเพื่อความสะดวกในการค้นหาตัวบุคคลและประวัติของบุคคลนั้น ๆ การทําบัตรประจําตัวประชาชน (กรณีขอมีบัตรครั้งแรก) การบริการ
๑. ผู้มีสัญชาติไทยอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีบริบูรณ์ต้องขอมีบัตรประจําตัวประชาชน หากไม่มาขอมี บัตรภายใน ๖๐ วัน จะถูก ปรับไม่เกิน ๕๐๐ บาท
๒. ยื่นคําขอที่อําเภอกิ่งอําเภอเขต หรือเทศบาล ที่ตนเองมีชื่อในทะเบียนบาน
๓. ไม่ต้องเสียคาธรรมเนียมแต่อย่างใด หลักฐาน ๑. สําเนาทะเบียนบาน ๒. แสดงหลักฐานนั้นที่ทางราชการออกให้เช่น ใบเกิดใบสุทธิเพื่อแสดงว่าเป็นบุคคล เดียวกับผู้มีชื่อในทะเบียนบาน ๓. กรณีเป็นบุตรบุคคลต่างด้าวต้องมีหนังสือสําคัญ ประจําตัวบุคคลต่างด้าวของบิดา และมารดาแสดงด้วย ๔. กรณีไม่มีหลักฐานตามข้อ ๒ ให้นําเจ้าบ้านหรือบุคคลที่น่าเชื่อถือมารับรอง ๕. เอกสาร "ขอทําบัตรประจําตัวประชาชน ครั้งแรก แรก " (ต้องไปเอาที่ เทศบาลฯ หรือ สถานที่พึ่งได้ตามเงื่อนไขที่กําหนด)
๔. กฎหมายเกี่ยวกับการรับราชการทหาร
การรับราชการทหารเป็นหน้าที่ ตามกฎหมายของพลเมืองไทย ซึ่งเรื่องนี้มีกฎหมายที่เกี่ยวของคือ พระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗ การรับราชการทหารมี ๔ ประเภท คือ
๑. การรับราชการทหารกองเกิน
๒. การรับราชการทหารกองประจําการ
๓. การรับราชการทหารกองหนุน
๔. การรับราชการทหารประจําการ
๕. กฎหมายเลือกตั้ง
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่าโดยที่เป็นการสมควรมีพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการ เลือกตั้งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ นี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและ เสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๕ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่ง กฎหมายจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯใหตราพระราชบัญญัติ ขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอม ของสภานิติบัญญัติแหงชาติดังตอไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ เรียกว่า "พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๕๐" มาตรา ๒ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราช กิจจานุเบกษา เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ “เลือกตั้ง” หมายความว่า เลือกตงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาทองถิ่น หรือผู้บริหารทองถิ่น แล้วแต่กรณี “หน่วยเลือกตั้ง” หมายความรวมถึง หน่วยออกเสียงประชามติ“จังหวัด” หมายความรวมถึงกรุงเทพมหานคร “เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง มาตรา ๕ ให้ประธานกรรมการการเลือกตั้งรักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญนี้และให้มีอํานาจออกระเบียบหรือประกาศ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการ เลือกตั้ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ ระเบียบหรือประกาศตามวรรคหนึ่ง เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
๕.๑. สิทธิในการเลือกตั้ง ผู้มีสิทธิและบัญชีรายชื่อ มาตรา ๒๐ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและมีหน้าที่ ไปใช้สิทธิ ค่าใช้จ่ายและวิธีหาเสียง มาตรา ๒๑ ในการเลือกตั้งใดถ้าผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่อาจไปใช้สิทธิ เลือกตั้งได้เนื่องจากมีเหตุอันสมควรให้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไป การลงคะแนนเลือกตั้ง ใช้สิทธิเลือกตั้งตอบุคคลซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งไว้ประจํา แต่ละเขตเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน การนับคะแนนประกาศผลในกรณีที่บุคคล ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งพิจารณาเห็น เหตุว่าที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งแจ้งนั้นมิใช่เหตุอันสมควร การลงทะเบียนผู้อยู่นอกเขต ให้รีบแจงให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทราบไม่น้อยกว่าสามวันก่อนวัน เลือกตั้ง การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิ วุฒิสภาระเบียบการพิจารณาการแจ้งเหตุตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปที่ คณะกรรมการการเลือกตั้งกําหนดโดยประกาศใน การคัดคานการเลือกตั้งราชกิจจานุเบกษา ในการนี้ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งกําหนด รายละเอียดของเหตุที่ทําให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่อาจไปใช้สิทธิ บทกําหนดโทษ เลือกตั้ง ไว้เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาของบุคคลซึ่งคณะกรรมการการ เลือกตั้งแต่งตั้งไว้ด้วย
๕.๒. ค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง มาตรา ๔๐ เมื่อได้มีการประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใน เขตการเลือกตั้งใดจนถึงวัน ผู้มีสิทธิและบัญชีรายชื่อเลือกตั้งการใช้จ่ายในการเลือกตั้ง และวิธีการหาเสียงเลือกตั้งให้เป็นไป ตามบทบัญญัติในส่วนนี้ ผู้สมัครและการรับสมัคร มาตรา ๔๑ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่ละครั้งให้ คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกําหนดจํานวนเงินค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายและวิธีหาเสียง ในการเลือกตั้ง
๕.๓. การลงคะแนนเลือกตั้ง
(๑) จํานวนเงินค่าใช้จ่ายของผู้สมัครแต่ละคนที่จะใช้จ่ายในการเลือกตั้งแบบ แบ่งเขตเลือกตั้งการนับคะแนนประกาศผล
(๒) จํานวนเงินค่าใช้จ่ายของพรรคการเมืองที่ จะใช้จ่าย ในการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อในกรณีที่ผู้สมัครในบัญชีรายชื่อของ การลงทะเบียนผู้อยู่นอกเขต พรรคการเมืองใดได้ใช้จ่ายไปเพื่อการเลือกตั้งเป็นจํานวนเท่าใดให้นับ รวมเป็นค่าใช้จ่ายของพรรคการเมืองด้วย การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ในการกําหนดจํานวนเงินค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งตามวรรคหนึ่ง ห้คณะกรรมการการเลือกตั้งกําหนดโดยหารือกับหัวหน้า การคัดค้านการเลือกตั้ง พรรคการเมืองทุกพรรคที่สงผู้สมัครรับเลือกตั้ง
๖. กฎหมายอาญา
๖.๑ ความหมายของกฎหมายอาญา กฎหมายอาญา
คือกฎหมายที่รวมเอาลักษณะความผิดต่าง ๆ และกําหนดบทลงโทษมาบัญญัติ ขึ้นด้วยมีจุดประสงค์จะรักษาความสงบเรียบร้อยภายในสังคม การกระทําที่มีผลกระทบกระเทือน ต่อสังคม หรือคน ส่วนใหญ่ของประเทศถือว่าเป็นความผิดทางอาญาหากปล่อยให้มีการแก้แค้น กันเองหรือ ปล่อยให้ผู้กระทําผิดแล้วไม่มีการลงโทษ จะทําให้มีการกระทําความผิดทางอาญามาก ขึ้นสังคมก็จะขาดความสงบสุข
๗. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย์ หมายถึงกฎหมายที่รวมเอาบทบัญญัติที่เกี่ยวกับเรื่อง ในทางแพ่งและพาณิชย์มาไว้ด้วยกันเป็นหมวดหมู่จัดระเบียบให้เข้ากัน การจัดทํากฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ของไทยเริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ จนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ซึ่งเป็นฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๓๕ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีเนื้อหาอยู่ทั้งหมด ๖ บรรพ ที่หมายถึง ๖ หมวดหมู่ใหญ่ ๆ เรียง ตามลําดับดังนี้
บรรพ ๑ ว่าด้วยหลักทั่วไป
บรรพ ๒ ว่าด้วยหนี้
บรรพ ๓ ว่าด้วยเอกเทศสัญญา
บรรพ ๔ ว่าด้วยทรัพย์สิน
บรรพ ๕ ว่าด้วยครอบครัว
บรรพ ๖ ว่าด้วยมรดก
คําว่า "บรรพ" หมายถึง หมวดหมู่ใหญ่ของกฎหมาย หมวดหมูที่ย่อยลงมาจากบรรพ คือลักษณะ เช่น บรรพ ๑ หลักทั่วไป แบ่งออกเป็นลักษณะบุคคลลักษณะทรัพย์ลักษณะนิติกรรม เป็นต้น
 |